คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมือง 54

รายชื่อพรรคการเมือง2554                                          http://รักษ์สันติ.com/
หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 2 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 3 พรรคประชาธิปไตยใหม่ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 6 คน
หมายเลข 4 พรรคประชากรไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 13 คน
หมายเลข 5 พรรครักประเทศไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 11 คน
หมายเลข 6 พลังชล ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 18 คน
หมายเลข 7 พรรคประชาธรรม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 25 คน
หมายเลข 8 พรรคดำรงไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 13 คน
หมายเลข 9 พรรคพลังมวลชน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน
หมายเลข 10 พรรคประชาธิปัตย์ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 11 พรรคไทยพอเพียง ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 3 คน
หมายเลข 12 พรรครักษ์สันติ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 64 คน
หมายเลข 13 พรรคไทยเป็นสุข ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน
หมายเลข 14 พรรคกิจสังคม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 15 พรรคไทยเป็นไท ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 10 คน
หมายเลข 16 พรรคภูมิใจไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 17 พรรคแทนคุณแผ่นดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 32 คน
หมายเลข 18 พรรคเพื่อฟ้าดิน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 คน
หมายเลข 19 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 30 คน
หมายเลข 20 พรรคการเมืองใหม่ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 24 คน
หมายเลข 21 พรรคชาติไทยพัฒนา ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
หมายเลข 22 พรรคเสรีนิยม ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 8 คน
หมายเลข 23 พรรค ชาติสามัคคี ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 9 คน
หมายเลข 24 พรรคบำรุงเมือง ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 14 คน
หมายเลข 25 พรรคกสิกรไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 2 คน และ
หมายเลข 26 พรรคมาตุภูมิ ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 40 คน
หมายเลข 27 พรรคชีวิตที่ดีกว่า ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน
หมายเลข 28 พรรค พลังสังคมไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 5 คน และ
หมายเลข 29 พรรคเพื่อประชาชนไทย ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 คน
หมายเลข 30 พรรคมหาชน ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 6 คน
ลองพรรคนี้กันหน่อยดีมะครับ เบื่อเซ็งกับพรรคหัวโจกสองพรรคใหญ่http://รักษ์สันติ.com/
เบอร์หมายเลข พรรคการเมือง เลือกตั้ง 2554

1
พรรคเพื่อไทย
2
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3
พรรคประชาธิปไตยใหม่
4
พรรคประชากรไทย
5
พรรครักประเทศไทย
6
พลังชล
พรรคพลังชล
7
พรรคประชาธรรม
8
พรรคดำรงไทย
9
พรรค พลังมวลชน
10
พรรคประชาธิปัตย์
11
พรรคไทยพอเพียง
12
พรรครักษ์สันติ
13
พรรคไทยเป็นสุข
14
พรรคกิจสังคม
15
พรรคไทยเป็นไทย
16
พรรคภูมิใจไทย
17
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18
พรรคเพื่อฟ้าดิน
19
พรรค
เครือข่ายชาวนา
แห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20
พรรคการเมืองใหม่
21
พรรคชาติไทยพัฒนา
22
พรรคเสรีนิยม
23
พรรคชาติสามัคคี 
24
พรรคบำรุงเมือง
25
พรรคกสิกรไทย
26
พรรคมาตุภูมิ
27
พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28
พรรคพลังสังคมไทย
29
พรรคเพื่อประชาชนไทย
30
รรคมหาชน
31
พรรคประชาชนชาวไทย

พรรคการเมือง 54

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5

1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา  เพื่อให้ขุนนาง  ข้าราชการ  ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่  ทำให้ขุนนาง  ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น  รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ
      1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน  การออกกฎหมายต่างๆ
      2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์  ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ
2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง  ใน พ.ศ.2430  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา  ยุโรป  และญี่ปุ่น  ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง  จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่  6  กรม  เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว  6  กรม  เป็น 12 กรม  คือ
      1)กรมมหาดไทย   2)กรมพระกลาโหม   3)กรทท่า   4)กรมวัง   5)กรมเมือง   6)กรมนา   7)กรมพระคลัง   8)กรมยุติธรรม      
      9)กรมยุทธนาธิการ   10)กรมธรรมการ   11)กรมโยธาธิการ   12)กรมมุรธาธิการ
             ใน พ.ศ.2435  กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง  และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์  และใน      พ.ศ.2437  ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน
3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค  มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล  ซึ่งได้ระบุไว้ใน  ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113  โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน  ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น  เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง  เช่น  การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน  รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี
4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ  ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล   สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม  จังหวัดสมุครสาคร  ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 
  สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยการสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี" ดังนั้นช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นสมัยที่ กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรอยตามแบบกรุงศรีอยุธยา ทั้งทางด้านรูปแบบและการปกครอง

โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็นสังคมครอบครัวและสังคมทั่วไป สังคมครอบครัวไม่แตกต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนสังคมทั่วไปมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปและยังคงแบ่งคนในสังคมทั่วไปเป็น ๒ ชนชั้น คือชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ นักบวช กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง คือไพร่และทาส

ชนชั้นผู้ปกครอง

ผู้ปกครองมีฐานะเป็นมูลนาย มูลนายมี ๒ อย่างคือ มูลนายโดยกำเนิด ได้แก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และมูลนายโดยการดำรงตำแหน่ง เช่นขุนนางข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมไพร่ตามอำนาจความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และแตกต่างจากมูลนายโดยกำเนิดที่ศักดินา สิทธิและอำนาจ ที่ล้วนขึ้นอยู่กับตำแหน่ง มูลนายโดยตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีอำนาจมากที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ รวมถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเจ้านายที่ทรงกรม
มูลนายยังแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ มูลนายระดับสูง และ มูลนายระดับล่าง ซึ่งปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง มูลนายระดับสูงหมายถึงผู้ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งเจ้านาย ขุนนาง พระภิกษุ พราหมณ์ ผู้รู้ศิลปศาสตร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมูลนายระดับสูงทำให้คนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษบางประการ เช่น มีสิทธิเข้าเฝ้า ขณะเสด็จออกว่าราชการและลูกมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องสักเป็นไพร่
มูลนายระดับล่าง หมายถึงผู้ถือศักดินาระหว่าง ๓๐-๔๐๐ มูลนายระดับสูงเป็นผู้แต่งตั้งให้มาช่วยราชการ ทำหน้าที่ควบคุมไพร่โดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหนึ่ง ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกสักเป็นไพร่ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ครอบคลุมถึงครอบครัว คนเหล่านี้เป็นฐานอำนาจของมูลนายระดับสูง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส ไพร่คือราษฎรสามัญทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากและเป็นคนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร ต้องสังกัดมูลนายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความคุ้มครอง ถือศักดินาระหว่าง ๑๐-๒๕ ความเป็นไพร่มีมาแต่กำเนิดและได้รับการแบ่งปันขึ้นสังกัดกรมกองต่าง ๆ เมื่อลูกหมู่ชายหญิงอายุ ๙ ปีขึ้นไป ไพร่ยังมาจากผู้ที่สึกจากสมณเพศ ทาสที่เป็นไทและมูลนายที่ทำผิดแล้วถูกถอดเป็นไพร่ ส่วนทาสมีศักดินา ๕ ทาสมีทั้งทาส ที่เป็นมาแต่กำเนิด เชลยศึก ผู้ที่ขายตัวหรือถูกขายตัวเป็นทาส ทั้งไพร่และทาสมีหน้าที่เหมือนกันตรงที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบเมื่อมีราชการสงคราม

ไพร่ มีระเบียบว่า เริ่มจากแบ่งลูกหมู่อายุ ๙ ปีขึ้นไปเข้าสังกัดมูลนายเป็นไพร่หลวง ไพร่สม หรือไพร่ส่วย ตามสังกัดของบิดามารดา มูลนายต้องทำบัญชีไว้จนกว่าจะปลดชรา การปลดชราไพร่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เดิมก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒ ไม่มีกำหนดอายุสิ้นสุดของไพร่เป็นลายลักษณ์อักษร การปลดชราพิจารณาจากสังขารของไพร่ และค่อย ๆ มีแนวโน้มว่าอายุควรเป็นเครื่องกำหนดได้และตระหนักว่าคนอายุ ๗๐ ปี ใช้ราชการไม่ค่อยได้แล้ว แต่ยังคงใช้ทำงานเบา ๆ ต่อไป อายุจึงไมใช่เครื่องกำหนดในการปลดชราและตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๒ ไพร่ปลดชราเมื่ออายุ ๖๐ ปี ไพร่สมัยรัตนโกสินทร์มี ๓ ประเภทดังนี้

๑. ไพร่หลวง หมายถึงไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ พวกนี้กระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีเจ้ากรมและข้าราชการกรมต่าง ๆ ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ สมัยรัชกาลที่ ๑ ไพร่หลวงเข้ารับราชการปีละ ๔ เดือนคือเข้าเดือน ออก ๒ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๒ รับราชการ ๓ เดือนต่อปีหรือเข้าเดือนออก ๓ เดือนใช้มาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้นรัชกาลไพร่หลวงจึงเข้ามารับราชการปีละหนึ่งเดือน พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้เริ่มมีการปลดปล่อยไพร่และทาส

๒. ไพร่สม เป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของมูลนาย มักเรียกรวม ๆ กันว่า ข้าหรือข้าเจ้า บ่าวขุนนาง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ไพร่สมต้องรับใช้มูลนายของตนและต้องรับใช้ข้าราชการ โดยการมาให้แรงงานปีละ ๑ เดือน หากไม่ไป จะต้องเสียเงินให้ราชการหนึ่งตำลึงสองบาท (๖ บาท)

ไพร่สมเป็นเสมือนสมบัติของมูลนาย ที่จะใช้งานส่วนตัวได้โดยไม่ระบุเวลาใช้งานที่แน่นอน เเต่ไม่ใช่สมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง แต่ความเป็นจริงมักปรากฏว่าทายาทของมูลนายเดิมหรือมูลนายอื่นจะถือโอกาสขอตัวไพร่สมนั้นไว้ พระมหากษัตริย์มักจะพระราชทานให้ตามที่ขอ สมัยรัชกาลที่ ๑ กฎหมายยังให้สิทธิแก่ไพร่สมฟ้องร้องมูลนายของตนได้ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าชนะความจะพ้นจากความเป็นไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง นอกจากนั้นถ้านายทำผิดแล้วต้องโทษ ไพร่สมของมูลนายคนนี้จะถูกโอนเป็นไพร่หลวงแยกไปสังกัดกรมกองต่าง ๆ มีมูลนายใหม่ควบคุม

๓. ไพร่ส่วย หมายถึงไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณีพิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย
ไพรส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางานให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน

ข้าพระโยมสงฆ์ จัดเป็นไพร่ส่วยด้วย อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุหบัญชีเช่นเดียวกับไพร่กองอื่น ๆ ต่างกันที่เป็นของฝ่ายพทุธจักร เพราะทางการได้หักกำลังคนส่วนนี้ออกจากกรมกองเดิม พ้นจากหน้าที่ที่ทำอยู่เดิมแล้วมอบให้วัดเพื่อให้แรงงานโดยตรง พวกนี้มีหน้าที่ทำงานให้วัดและช่วยวัดอื่นๆ ด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ ข้าพระโยมสงฆ์ส่วนหนึ่งต้องทำส่วยส่งรัฐเป็นรายปีด้วย

ทาส

คือพลเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นพลเมืองที่มีสถานะเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของนายเงิน การโอนหรือขายต่อเป็นสิทธิของนายเงิน ทาสจึงต่างจากไพร่ตรงจุดนี้ กฎหมายยังรับรองสิทธิของนายเงินที่มีเหนือทาส ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทาสด้วย ทาสสมัยรัตนโกสินทร์มีสภาพเช่นเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยาดังได้กล่าวมาแล้ว